วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

相槌=あいづち

วันนี้มินท์เพิ่งถามว่า "นิวอัพบล็อกยัง?"
...แหะๆๆ ยังเลย ไม่รู้จะเขียนอะไร ช่วงปิดตอนปีใหม่ที่ผ่านมา ไม่รู้เอาเวลาไปทำอะไรหมด !@#$%^&*

ประจวบเหมาะ - วันนี้ได้เข้าไปท่องเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นเรื่อง あいづち โดยบังเอิญ จากการที่ต้องทำงานแปล(ขีดเส้นใต้)วิชา Reading ไปเจอคำว่า "อือ" เข้า เอาแล้วไง..คนญี่ปุ่นเค้าพูดว่า "อือ" ยังไงกันนะไม่รู้จะเริ่มต้นหาคำนี้ยังไงดี เลยพิมพ์คำว่า あいづちเข้าไปในกูเกิ้ล..ไม่รู้คิดได้ยังไง 555(นั่นสิ) ก็เลยได้ไปเจอกับเวบไซต์นี้เข้า www.ma-support.co.jp/backnumber/20080709/

เค้าขึ้นหัวไว้ว่า あなたの相槌は、相手を不快にさせていませんか?เห็นหัวแบบนี้ทำให้นึกเรื่องของตัวเองตอนที่ไปเจอเซนเซกับเพื่อนๆ ของเซนเซเป็นครั้งแรก เวลาที่ฟังพวกท่านคุยกัน เราได้แต่พยักหน้าหงึกหงัก และพูดว่า はい、はい และก็เผลอทำหน้างงๆ ออกไปเวลาไม่เข้าใจ เซนเซก็จะหันมาถามว่า เข้าใจมั้ย? และก็จะพยายามอธิบายให้ฟังใหม่ด้วยภาษาที่คนที่เพิ่งเรียนภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะเข้าใจ (จริงๆ นะ)

ประเด็นคือ..หลังจากแลกเมลล์กันวันนั้น เซนเซก็บอกว่า จะรอเมลล์นะ แล้วเราก็ส่งเมลล์ไปขอบพระคุณที่เซนเซกรุณาให้คำปรึกษาและก็..แหะๆ ใจดีเลี้ยงอาหารเราด้วย ในเมลล์ที่เซนเซตอบกลับมา เซนเซพูดถึงเรื่องการใช้ あいづちไว้ว่า
まずは、あいづちの日本語が使えると便利かもしれないですね。

へぇ~とか そうなんですか~ そうなんですか?
えーーー うそ~ ほんとですか~?など

こういうの結構大事ですよね。

ตอนคุยกันก็รู้สึกว่า เซนเซจะพูดคำว่า そうなんですか~ そうなんですか?และก็ ほんとですか~บ่อยมาก ว่าจะลองใช้ดูเหมือนกัน..แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าแค่ฟังให้เข้าใจว่าเค้าพูดอะไรกันอยู่ก็ลำบากแล้ว ถ้าต้องมาคอยหาจังหวะใส่ あいづちเข้าไปอีกล่ะก็..หึๆๆ
ใช่..เมื่อกี๊เรากำลังคิดแบบนี้อยู่..แต่อยู่ดีๆ เรื่องที่อาจารย์กนกวรรณแนะนำไปเมื่อวันที่発表เกี่ยวกับหัวข้อของตัวเองก็ลอยฟิ้วววว เข้ามาในสมอง(อีกครั้ง) อะไรสักอย่าง..จำเป็นคำที่ถูกต้องเป๊ะๆ ไม่ได้แล้ว เกี่ยวกับการ imagineถึงการสนทนากับคนญี่ปุ่น..
ใช่แล้ว - ต้องคิดว่ามันเป็นเรื่องสบายๆ อย่าไปกลัว อย่าไปกลัว 555 ทำมันทั้งสองอย่างเลย ทั้งพยายามตั้งใจฟังให้เข้าใจกับใช้ あいづち ไปด้วย

อ่าว..แล้วประเด็นเรื่องเวบไซต์ที่เข้าไปท่องล่ะ? - แหะๆ เกือบลืมแน่ะ พอลองอ่านดู เหมือนจะเป็น あいづち ที่ค่อนข้างเป็นภาษาทางการ สุภาพ ใช้ในวงธุรกิจ แต่เราว่าดีนะ เค้าช่วยแบ่งประเภทให้ด้วย อย่างเช่น

☆同調のフレーズ
「そうですね」「私もそう思います」「その通りです」

☆驚き・感嘆のフレーズ
「え?本当ですか?」「素晴らしいですね!」「さすがですね!」

☆疑問のフレーズ
「それはいつですか?」「どういうことですか?」

☆展開のフレーズ
「それから先はどうなったんですか?」「例えばどんなことですか?」

★相手を不快にさせてしまうNGフレーズ ←(เพิ่งรู้นะเนี่ยว่า NG =no good)
「ていうか」「でも」「だけど」「いえ」「そんなことないですよ」「だから?」
「それは違います」「そうは思いませんけど」

เค้าบอกว่า表現ที่ negativeอย่างด้านบน(ที่เป็นดาวสีทึบ)จะไปทำลาย 相手の“話そう”という気ล่ะ
เราขอยกข้อความเค้ามาเลยดีกว่า เพราะถ้าเราแปลเองอาจจะ..เอ่อ..มั่ว

「表情豊かに相槌を打ちながら話を聴くことは、話し手に“話が伝わっている”という安心感を与えるとともに、相手の話を発展させる大切な要素です。」

1 ความคิดเห็น:

  1. ซะสึกะนิฮนจิน
    ไอสึจิกันเป็นประโยคเลยทีเดียว
    แถมยังมีหมวดหมู่อีก - -

    ตอบลบ